ชื่อบทความ |
|
เห็ดเผาะ...อร่อยดีและมีประโยชน์ |
ผู้เขียนบทความ |
|
ภญ.กฤติยา ไชยนอก |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสกิจกรรม |
|
1002-1-000-017-10-2565 |
ผู้ผลิตบทความ |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
การเผยแพร่บทความ |
|
เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ |
วันที่ได้รับการรับรอง |
|
30 ต.ค. 2565 |
วันที่หมดอายุ |
|
29 ต.ค. 2566 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
2.5 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
เห็ดเผาะ (Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan) หรือชื่ออื่นๆ คือ เห็ดถอบ เห็ดเหียง เห็ดหนัง เห็ดดอกดิน เป็นเห็ดกินได้ที่มีรสชาติอร่อยและได้รับความนิยมสูง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเวลาขบเห็ดจะมีเสียงดังเผาะ ทำให้เกิดความมันในการเคี้ยว พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยยกเว้นภาคใต้ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เห็ดเผาะที่เก็บจากป่ามักมีราคาแพง เพราะเป็นอาหารที่มีเฉพาะในฤดูฝน แต่การเก็บเห็ดต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ เนื่องจากเห็ดเผาะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับเห็ดไข่หงษ์ซึ่งเป็นเห็ดพิษ หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน สรรพคุณพื้นบ้านของเห็ดเผาะคือ ใช้แก้โรคกระเพาะ ช่วยล้างพิษ บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน และบำรุงหัวใจ สารสำคัญที่มีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเป็นสารในกลุ่ม heteropolysaccharides ได้แก่ สาร AE2 และสารในกลุ่ม sesquiterpenoids ได้แก่ สาร astrakurkurol และสาร astrakurkurone การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า เห็ดเผาะมีฤทธิ์ปกป้องตับ ปกป้องหัวใจ ต้านเบาหวาน ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านเซลล์มะเร็ง และมีฤทธิ์ต้านจุลชีพโดยเฉพาะฤทธิ์ต้านโปรโตซัวลิชมาเนีย แต่ทั้งหมดยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง การศึกษาความเป็นพิษพบว่า สารสกัดต่างๆ ของเห็ดเผาะมีความปลอดภัย และยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดเผาะ แต่สำหรับผู้ที่แพ้เห็ดหรือแพ้สปอร์เห็ด ควรระมัดระวังการรับประทานเห็ดเผาะ
คำสำคัญ
เห็ดเผาะ, เห็ดถอบ, Barometer earthstar, Astraeus hygrometricus, AE2, astrakurkurol, astrakurkurone
วิธีสมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก Online ได้ที่
http://www.medplant.mahidol.ac.th/members/NewsletterForm.asp