ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
Chimeric Antigen Receptors (CAR) T-cell: กลไกการทำงานและกระบวนการผลิต
ชื่อบทความ Chimeric Antigen Receptors (CAR) T-cell: กลไกการทำงานและกระบวนการผลิต
ผู้เขียนบทความ ภก.ธรรมนูญ ด้วงโสน, นศภ.กรกนก เพชรรัตน์, นศภ.ภัคจิรา พิสุทธินรเศรษฐ์
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-001-10-2567
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 ก.ย. 2567
วันที่หมดอายุ 29 ก.ย. 2568
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
มะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งอาจแพร่กระจายและลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ในปัจจุบันมีวิธีการรักษามะเร็งที่หลากหลาย แต่เนื่องจากความสามารถในการกลายพันธุ์และหลบหนีภูมิคุ้มกันของเซลล์มะเร็ง ทำให้ยังมีการพัฒนาวิธีการรักษามะเร็งอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในวิธีการรักษานั้นคือ CAR T-cell therapy ซึ่งเป็นการนำ T-cell ของผู้ป่วยมาผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมให้มีการแสดงออกของตัวรับ CAR ที่จำเพาะต่อ antigen บนเซลล์มะเร็งของผู้ป่วย และผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ CAR T-cell ก่อนจะส่งกลับคืนเพื่อบริหารยาให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ CAR T-cell ที่ได้รับการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนแล้วในต่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาวิธีการรักษามะเร็งซึ่งจะเป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในอนาคต
คำสำคัญ
Cancer immunotherapy, Chimeric Antigen Receptor (CAR) T-cell, CAR T-cell product