ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568

บทความวิชาการ
การหยุดการทำงานของไวรัสในคอลัมน์ โดยการใช้ตัวทำละลาย/ผงซักฟอกสำหรับผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ แบบรีคอมบิแนนท์
ชื่อบทความ การหยุดการทำงานของไวรัสในคอลัมน์ โดยการใช้ตัวทำละลาย/ผงซักฟอกสำหรับผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ แบบรีคอมบิแนนท์
ผู้เขียนบทความ นสภ. ศุภณัฐ เอี่ยมสำอางค์, นสภ. วัชราภรณ์ ยอดนิล และภก.ปกรณ์ สุขโข
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-001-01-2568
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 13 ม.ค. 2568
วันที่หมดอายุ 12 ม.ค. 2569
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
แต่ละขั้นตอนในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพมีความซับซ้อนและต้องใช้ทรัพยากรที่มีต้นทุนสูง โดยเฉพาะใน กระบวนการปลายน้ำ (downstream processing) ซึ่งเป็นส่วนที่ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต การเพิ่ม ประสิทธิภาพกระบวนการ (process intensification) จึงเป็นหัวข้อสำคัญที่ได้รับการพิจารณาตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ บทความนี้นำเสนอแนวทางใหม่ในการทำลายไวรัสบนคอลัมน์ (on-column virus inactivation) ด้วยวิธี solvent/detergent (S/D) treatment ระหว่าง ion-exchange chromatography โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการใหม่กับ กระบวนการมาตรฐานในพารามิเตอร์ด้านต่างๆ เช่น product yield, specific activity และ Impurity clearance เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เพิ่มขั้นตอนการล้างและการบ่ม (wash and incubation steps) ที่มีและไม่มี S/D containing buffer เพื่อเพิ่ม ระยะเวลาสัมผัสที่เพียงพอสำหรับการกำจัดไวรัสเปลือกหุ้ม (enveloped viruses) อย่างมีประสิทธิภาพและลดปริมาณ S/D reagents ที่ใช้ในกระบวนการ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพกระบวนการใหม่เทียบเคียงกับกระบวนการมาตรฐาน สำหรับการกำจัดไวรัส ได้ใช้ไวรัส XMuLV เป็นไวรัสแบบจำลองในการทดลอง โดยวิเคราะห์ส่วนที่ได้จากโครมาโทกราฟีด้วยวิธี TCID50 และ RT-qPCR ข้อมูลแสดงความสามารถในการกำจัดไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ใช้ S/D buffer เพียง 10% ของค่าปกติ อย่างไรก็ตาม กลไก การกำจัดไวรัสในกระบวนการนี้ยังคงต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเข้าใจในเชิงลึก
คำสำคัญ
Anion-exchange chromatography, การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต , ประสิทธิภาพกระบวนการผลิต Solvent/detergent inactivation, การศึกษา Viral clearance, Virus infectivity