การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการ “SAP4+ Conference 2024-Personalized-Centered Healthcare”
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการ “SAP4+ Conference 2024-Personalized-Centered Healthcare”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-025-06-2567
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่จัดการประชุม 07 -09 มิ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์สาขาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ สถาบันส่วนภูมิภาค
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนา รับใช้สังคม สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัย โดยคณะเภสัชศาสตร์ ดำเนินพันธกิจให้มีความเข้มแข็งทั้งด้านวิชาการและด้านการวิจัยในทุกระดับรวมถึงระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ผู้สอนในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการเภสัชกรรม จึงต้องมีการพัฒนาตนเอง เพิ่มพูนความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิจัย เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ในสาขาการจัดการเภสัชกรรมทั้งในระดับชาติและนานานาชาติมายังนักศึกษา ให้มีศักยภาพทั้งทางด้านวิชาการและวิจัย ตลอดจนมีภาวะความเป็นผู้นา เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถนำวิทยาการที่ก้าวหน้ามาปรับใช้ในการทางานอย่างเป็นระบบเมื่อจบการศึกษา โครงการนี้จึงดำเนินการขึ้นโดยให้คณาจารย์ได้มีการเรียนรู้จากการเข้าร่วมอบรม การเข้าร่วมประชุมวิชาการด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านวิชาการและการวิจัยกับนักวิชาการในระดับชาติ ทำให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการ เรียนรู้การบริหารจัดการและงานวิจัย และการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือกับนักวิจัยและนักวิชาการในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องฯ เกิดการพัฒนาตนเองของคณาจารย์ต่อไป

โครงการนี้เป็นโครงการที่จัดมาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ สถาบันส่วนภูมิภาคประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยพะเยา เวียนกันเป็นเจ้าภาพในการดาเนินกิจกรรม โดยปี 2567 นี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน

การดำเนินกิจกรรมประชุมวิชาการในปีนี้ได้กาหนดธีมเป็น การดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจาเพาะบุคคล (Personalized Healthcare) การใช้แนวทางการดูแลสุขภาพและการรักษาที่สอดคล้องกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยแต่ละราย การผลักดันให้เกิด Personalized Healthcare ได้ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ช่วยส่งเสริมกลยุทธ์ ผลักดันงบประมาณจากรัฐ เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกและแนวทางรักษา รวมถึงลดช่องว่างทางสังคมที่ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยแบบจำเพาะบุคคล ด้านข้อมูล ชี้วัดศักยภาพทางด้านการบริหารและการจัดเก็บฐานข้อมูลของผู้ป่วย การบันทึกข้อมูลสุขภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ การรวบรวมสถิติและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพต่างๆ ด้านบริการ ส่งเสริมการให้บริการทางสาธารณสุข โอกาสการเข้าถึงการรักษาที่โรงพยาบาล การดูแลรักษาทางไกล (Telemedicine) การได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและทันท่วงที ด้านเทคโนโลยี เน้นการใช้งานอุปกรณ์อัจฉริยะ แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาสนับสนุนการรักษาแบบเฉพาะบุคคล การแลกเปลี่ยนอภิปรายความรู้เชิงวิชาการ งานวิจัยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล จะช่วยให้มีการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดสุขภาพที่ดีของประชาชนและยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาอาจารย์ในหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเภสัชกรรม โดยการเข้าร่วมโครงการ “ประชุมพัฒนาอาจารย์ด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร 2567, Personalized Healthcare: a Patient-Centered Care”
คำสำคัญ
จัดการเภสัชกรรม