โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Driving sustainability in the pharmaceutical industry”
ชื่อการประชุม |
|
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Driving sustainability in the pharmaceutical industry” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
|
1001-2-000-054-11-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
งานประชุมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar |
วันที่จัดการประชุม |
|
28 พ.ย. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
แพทย์ เภสัชกร และนักวิทยาศาสตร์ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
3 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ด้วยวาระที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉลองครบรอบ 111 ปี ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวและแสดงศักยภาพทางด้านวิชาการของคณะให้เป็นที่ประจักษ์แก่วงวิชาชีพเภสัชศาสตร์ กรรมการบริหารคณะได้เสนอให้มีการจัดงานวิชาการศึกษาต่อเนื่อง โดยเป็นความร่วมมือของทุกภาควิชาและทุกภาคส่วนในคณะ ซึ่งกำหนดจะจัดงานศึกษาต่อเนื่อง ฉลอง 111 ปีแห่งเภสัชจุฬา: สู่ศตวรรษหน้าเภสัชศาสตร์ไทย (Celebrating 111 Years of Pharm Chula: To the Next Century of Thai Pharmacy) ในระหว่างวันที่ 20 กันยายน 2567 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรมจึงเสนอโครงการ เรื่องDriving sustainability in the pharmaceutical industry เพื่อลงทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในการเฉลิมฉลองครั้งนี้
sustainability หรือความยั่งยืน กลับมาเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงกันอย่างมากทั้งในแง่สาเหตุของความไม่ยั่งยืนรวมไปถึงวิธีทางแก้ไขเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตของระบบต่างๆรอบตัวเรา ทั้งนี้เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นต่างก็มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งรอบตัวทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างปฏิเสธไม่ได้นำไปสู่การเสียสมดุลของธรรมชาติและผลกระทบเชิงลบต่อมนุษยชาติ ปัจจุบันอุตสาหกรรมหลายประเภทให้ความใส่ใจและตื่นตัวกับความยั่งยืนเป็นอย่างมาก เช่น ฟาร์มปศุสัตว์มีแนวคิดที่จะลดการปล่อยก๊าซมีเทนที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจที่เป็นสาเหตุหลักของการทำลายชั้นโอโซนของโลกนำไปสู่ภาวะโลกร้อนหรืออุตสาหกรรมหนักต่าง ๆ ที่มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่างก็ใช้กลยุทธและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อปรับลด carbon load นอกจากนี้ในเชิงนโยบายระดับประเทศสนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมากขึ้นตามลำดับจนนำไปสู่การกำหนดกำแพงภาษีการค้าของสินค้าหรือบริการที่ไม่มีความมยั่งยืนอีกด้วย
อุตสาหกรรมการผลิตยาและสารเคมีจัดเป็นกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ตัวทำละลายอินทรีย์ สารตั้งต้น catalyst waste รวมไปถึงกระบวนการการผลิตและของเสียจากกระบวนการและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว นอกจากนี้พลังงานเชื้อเพลิงที่จำเป็นต่อการใช้เพื่อขับเคลื่อนเครื่องมือทางการผลิตก็ส่งผลกระทบเช่นกัน การชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงต่าง ๆ ของการนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการ การออกแบบกระบวนการในระหว่างกระบวนการผลิตไปจนถึงการส่งมอบเภสัชภัณฑ์รวมถึงจุดวิกฤตในกระบวนการที่เป็นต้นเหตุของผลกระทบเชิงลบสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมได้
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้มองเห็นภาพความเชื่อมโยงของกิจกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตยาที่มีผลต่อความยั่งยืน ตระหนักและเข้าใจรวมถึงพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการผลิตยาในอนาคตที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืน
วิธีสมัครการประชุม
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ โทรศัพท์ 0-2218-8283 หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: ce@pharm.chula.ac.th