ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง Cancer pharmacotherapy review) (ประชุมแบบ Online)
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง Cancer pharmacotherapy review) (ประชุมแบบ Online)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-012-01-2568
สถานที่จัดการประชุม ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประชุมแบบ Online)
วันที่จัดการประชุม 25 ม.ค. 2568 - 01 มี.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 18 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา (กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562) ข้อมูลจาก GLOBOCAN พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง 190,636 คน จากประชากรไทยทั้งหมด 69,893,363 คน การรักษาโรคมะเร็งให้มีประสิทธิภาพบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ครอบคลุมทั้งเรื่องเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ได้แก่ สาเหตุ พยาธิวิทยา การวินิจฉัย การประเมินระยะของโรค การตรวจคัดกรองโรค แนวทางการรักษาโรคมะเร็ง ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งทั้งด้านกลไกการออกฤทธิ์และเภสัชวิทยา ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ ข้อมูลเภสัชพลศาสตร์ ข้อมูลการศึกษาในผู้ป่วยทั้งด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและอาการข้างเคียงของยา
แม้ว่ายาเคมีบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งโดยเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการยืดระยะเวลาการอยู่รอดและป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง การป้องกันและการจัดการกับอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาทั้งจากยาเคมีบำบัดและยาใหม่ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น ด้วยความตระหนักในความสำคัญของปัญหาดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้จัดการประชุมสัมมนาออนไลน์ เรื่อง Cancer pharmacotherapy review เพื่อช่วยพัฒนาองค์ความรู้และทักษะแก่เภสัชกรผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งให้มีความพร้อมที่จะดำเนินงานในด้านการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทันสมัยและมีความปลอดภัยจากการรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาวร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง แนวทางการรักษา ประสิทธิภาพของการใช้ยา ตลอดจนอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น โดยเน้นเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทันสมัย การจัดการอาการไม่พึงประสงค์จากยาเคมีบำบัดทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว (Managing Disease – or – Treatment Related Complication)
2) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมทางด้านโรคมะเร็ง
คำสำคัญ
Cancer pharmacotherapy
วิธีสมัครการประชุม
Online