ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568

การประชุมวิชาการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดทำโครงร่างงานวิจัย ของ อย. (ครั้งที่ 2)
ชื่อการประชุม ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดทำโครงร่างงานวิจัย ของ อย. (ครั้งที่ 2)
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-005-01-2568
สถานที่จัดการประชุม ห้อง OSSC สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
วันที่จัดการประชุม 14 ม.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย นักวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จำนวน 50 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศและส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนาระบบงานวิจัยซึ่งจะเป็นระบบพื้นฐานที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำผลการวิจัยไปพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในฐานะที่เป็นองค์กรหลักของภาครัฐที่ทำหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ และหนึ่งในภารกิจตามกฎหมายของกรมคือ “ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล” นั้น เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและภารกิจของกรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาระบบการวิจัยงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อเป็นระบบพื้นฐานที่จะสนับสนุนให้เกิดการสร้างงานวิจัยที่จะเป็นองค์ความรู้ใหม่ให้กับองค์กร รวมถึงสนับสนุนให้มีการนำผลการวิจัยไปปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

จากข้อมูลการวิเคราะห์ทิศทางนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารละยา พบว่าสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมของระบบสุขภาพและสาธารณสุขของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น สถานการณ์ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคสังคมดิจิทัล สถานการณ์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์และด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สถานการณ์ความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้ง สถานการณ์วิกฤติทั้งที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่และภัยพิบัติทางธรรมชาติ นับเป็นความท้าทายที่ อย. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ อย. ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับภาคีเครือข่ายในผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันแสดงข้อคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อ research area ที่ อย. นำเสนอ และเปิดโอกาสให้มีการเสนอ area อื่นๆ ด้วย มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงาน รัฐ มหาวิทยาลัย สถาบัน/ หน่วยวิจัย เอกชน ภาคประชาชนและกลุ่ม NGOs แหล่งทุนวิจัย จำนวนประมาณ 70 คน ได้ข้อสรุป research areas 8 ประเด็น ประกอบด้วย 1) Regulatory Eco-system กรณี Advanced Therapy Products, 2) กลไกการเฝ้าระวังฯ กรณีศีกษา Microplastics 3) ระบบและกลไกการสร้างความมั่นคงฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน
4) การควบคุมการกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Track & Trace Information system) 5) การสร้าง Eco-system เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก: BCG model 6) การปฏิรูปโครงสร้างบทบาท&ความสัมพันธ์องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น 7) Aging Society; Consumer empowerment และ 8) การคุ้มครองผู้บริโภคและการลดอุปสรรคในการประกอบการด้าน E-commerce ทั้งนี้ จากกรอบประเด็นการวิจัยภาพใหญ่ทั้ง 8 ประเด็นข้างต้น จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการกำหนดหัวข้อวิจัยที่ชัดเจน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของหัวข้องานวิจัยที่จะดำเนินการ ในปี 2568-2570
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดทำโครงร่างงานวิจัย ของ อย.
คำสำคัญ
research