ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 “การบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจากการทำงานด้วยวิธีธรรมชาติ”
ชื่อการประชุม โครงการอบรมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 “การบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจากการทำงานด้วยวิธีธรรมชาติ”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม 1008-2-000-002-03-2568
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และแบบ online (Zoom)
วันที่จัดการประชุม 24 มี.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่สนใจ ศิษย์เก่า เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (myofascial pain syndrome: MPS) เป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน สาเหตุหลักเกิดจากการทำงาน หรือที่นิยมเรียกกันว่า office syndrome โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานสำนักงาน การใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยและเป็นเวลานาน มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม มีระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อที่ไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการตึงปวด พบจุดกดเจ็บ ร่วมกับอาการปวดร้าวอย่างมีแบบแผน อาการปวดเรื้อรังนี้ยังสร้างความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การเข้าใจสาเหตุของโรคจะทำให้สามารถจำแนกการปวดกล้ามเนื้อที่เป็นสาเหตุจากโรคอื่นๆ ได้เพื่อรับการรักษาที่ถูกจุดและหายได้ในที่สุด วัตถุประสงค์ของการรักษาเพื่อลดปวด ลดอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตของกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ กำจัดจุดกดเจ็บที่เกิดขึ้น โดยแนวทางการรักษาทางยา การนวดผ่อนคลาย การฝังเข็ม การทำกายภาพบำบัด เช่น การอัลตราซาวด์ การกดจุด การกระตุ้นไฟฟ้า การออกกำลังกาย เป็นต้น
วิธีในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังสามารถทำได้ทั้งการใช้ยา และวิธีที่ไม่ใช้ยา โดยเน้นไปที่การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น การใช้สมุนไพร ร่วมกับการนวดและใช้ความร้อน รวมถึงการปฏิบัติตัว วิธีเหล่านี้เป็นทางเลือกที่ดีในการบรรเทาอาการซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงจากการรับประทานยาและสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังด้วยวิธีธรรมชาติ รวมทั้งการใช้สมุนไพรที่มีคุณสมบัติให้เหมาะสม จึงจัดอบรมความรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไป เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความรอบรู้ในด้านการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยการใช้สมุนไพรและวิธีการได้อย่างเหมาะสมในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังดังกล่าว รวมทั้งเป็นการให้ข้อมูลแก่บุคลากรทางการแพทย์สำหรับให้คำแนะนำแก่ประชาชนในเรื่องนี้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (myofascial pain syndrome: MPS) จากการทำงานในชีวิตประจำวัน
2.เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อด้วยวิธีธรรมชาติ
3.เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมอบรมในการใช้ยาสมุนไพรสำหรับบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
4.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กับประชาชน ศิษย์เก่า และบุคลากรทางการแพทย์
5.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สวนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้บุคคลภายนอกได้รู้จัก
คำสำคัญ