ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการฝึกอบรมหลักสูตรเภสัชกรรมปฐมภูมิ : เภสัชกรครอบครัวและชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อการประชุม โครงการฝึกอบรมหลักสูตรเภสัชกรรมปฐมภูมิ : เภสัชกรครอบครัวและชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2568
สถาบันหลัก ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
รหัสกิจกรรม 0001-2-000-005-03-2568
สถานที่จัดการประชุม ฝึกอบรมทางระบบออนไลน์ และฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ณ ศูนย์เรียนรู้เภสัชกรรมปฐมภูมิ ตามที่สภาเภสัชกรรมกำหนด
วันที่จัดการประชุม 01 มี.ค. 2568 - 27 ก.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรมีบทบาทในงานบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ครอบคลุมในหลายๆด้าน โดย แบ่งเป็นระดับดังนี้
1. ระดับบุคคล คือการที่เภสัชกรให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ประชาชนรายบุคคลเพื่อให้ประชาชนที่ป่วย มีผลการรักษาตามเป้าหมาย ซึ่งครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยโรคทั่วไปที่พบบ่อย โรคเรื้อรัง รวมถึงการสร้าง เสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนแต่ละรายด้วย
2. ระดับครอบครัว คือการที่เภสัชกรให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ประชาชนทั้งครอบครัว เพื่อให้แต่ละ ครอบครัว มีการใช้ยาที่เหมาะสมและมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งอาจดูแลครอบครัวที่มารับบริการที่ร้านยา หรือการ เยี่ยมบ้านผู้ป่วย
3. ระดับชุมชน คือการที่เภสัชกรจะต้องเข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน และให้การ ป้องกัน คุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภคในด้านยาและสุขภาพ วิชาชีพเภสัชกรรมเป็นหนึ่งในผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขตาม พระราชบัญญัติระบบ
สุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562 เพื่อให้เภสัชกรมีความพร้อมในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งหมายถึง บริการทาง การแพทย์และสาธารณสุขที่มุ่งหมายดูแลสุขภาพของบุคคลในเขตพื้นที่รับผิดชอบในลักษณะองค์รวม ตั้งแต่แรก ต่อเนื่อง และผสมผสานครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่ ประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งเชื่อมโยงกับครอบครัว ชุมชน และบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการพัฒนา ศักยภาพของเภสัชกรโดยการฝึกอบรมตามหลักสูตรเภสัชกรรมปฐมภูมิ : เภสัชกรครอบครัวและชุมชน เพื่อเป็น กำลังสำคัญของประเทศในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะเชิงวิชาชีพในด้านการจัดการงานเภสัชกรรมระดับปฐมภูมิ ทั้งในระดับ บุคคล ครอบครัวและชุมชน แก่เภสัชกร
2. เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การทางานเภสัชกรรมปฐมภูมิ การทำงานเป็นทีมหมอครอบครัวใน ระบบสุขภาพปฐมภูมิ
คำสำคัญ
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ
วิธีสมัครการประชุม
สามารติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02 591 9992 กด 4 ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ หรือติดต่อ รศ.ภญ.สุณี เลิศสินอุดม โทร 0816617237 ไลน์ไอดี @sunee.l