ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568

การประชุมวิชาการ
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด)
ชื่อการประชุม หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-2-000-011-02-2568
สถานที่จัดการประชุม 1.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2.หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก 3.หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ 4.ศูนย์ความเป็นเลิศโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
วันที่จัดการประชุม 01 ก.พ. 2568 - 31 พ.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาลของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคหัวใจเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนไทยใน 3 อันดับแรก โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องสำคัญของการเกิดโรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมัน การสูบบุหรี่ รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคเป็นต้น ดังนั้นแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจึงต้องมีการดูแลรักษาโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary team) ซึ่งเภสัชกรในงานบริบาลทางเภสัชกรรมจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแล ให้คำแนะนำ ค้นหาปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและไม่เกิดผลข้างเคียงของการใช้ยา รวมทั้งส่งเสริมการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย
ซึ่งปัจจุบันแนวทางการรักษาโรคหัวใจมีการใช้ยาและเครื่องมีอที่ทันสมัย โดยมีการใช้ความรู้ที่อ้างอิงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ (Evidence based medicine) ดังนั้นเภสัชกรจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอและเป็นปัจจุบัน เพื่อสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดูและผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาโรคหัวใจมีแนวทางการพัฒนามาตรฐานการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยมีการกำหนดปัจจัยพื้นฐานด้านกำลังคนให้มีเภสัชกรที่ได้รับประกาศนียบัตรการบริบาลทางเภสัชกรรมด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดในทุกระดับโรงพยาบาลเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรในการดูและผู้ป่วย
ดังนั้นทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย จึงร่วมกับฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ การฝึกอบรมการให้บริบาลเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด Certificate in Pharmacy (Cardiovascular disease) ขึ้น โดยเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยเป็นการฝึกปฏิบัติการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งผู้ป่วยในโรคหัวใจ ผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ และคลินิกผู้ป่วยนอกโรคหัวใจ เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ขึ้น เพื่อให้เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสในการพัฒนาความรู้และปฏิบัติงานร่วมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ และทำงานร่วมสหสาขาวิชาชีพในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหัวใจ

วัตถุประสงค์
1. พัฒนาองค์ความรู้ และทักษะพื้นฐานการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย
2. ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะรายได้
3. สามารถบูรณาการความรู้ ข้อมูลเชิงประจักษ์ งานวิจัยมาใช้ในการบริบาลเภสัชกรรมเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
4. สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยได้
5. สามารถริเริ่มหรือพัฒนาแนวทางการบริบาลเภสัชกรรม/งานวิจัยในผู้ป่วยโรคหัวใจในหน่วยงานตนเอง
คำสำคัญ
ลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด)
วิธีสมัครการประชุม
รายละเอียดการสมัครสามารถสามารถดาวน์โหลดได้ตาม QR Code ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ โดยชำระค่าลงทะเบียนคนละ 30,000 บาท/คน/รอบ เข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-รังสิต ชื่อบัญชี “คณะเภสัชศาสตร์ มธ.” เลขที่บัญชี 091-014259-5 และกรุณาสำเนา และ/หรือ สแกนหลักฐานการโอนเงิน ระบุชื่อ-สกุล หน่วยงานต้นสังกัดของผู้สมัครให้ชัดเจน ส่งมาพร้อมกับใบสมัครทาง Email: pattamako@tu.ac.th