ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568

การประชุมวิชาการ
การพัฒนาแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลและการสืบค้นสิทธิบัตรยามุ่งเป้า (หลักสูตรพื้นฐาน)
ชื่อการประชุม การพัฒนาแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลและการสืบค้นสิทธิบัตรยามุ่งเป้า (หลักสูตรพื้นฐาน)
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-010-02-2568
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์นพลัส แวนดา แกรนด์ แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี
วันที่จัดการประชุม 13 ก.พ. 2568
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย ๑) ผู้ผลิตยาในประเทศ : ๖๐ คน ๒) นักวิจัย : ๗ คน ๓) เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และวิทยากรภาครัฐ : ๑๓ คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันมีมูลค่าในปี ๒๕๖๖ รวม ๒.๗ แสนล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าผลิต ๘ หมื่นล้านบาท มูลค่านำเข้า ๑.๙ แสนล้านบาท (สัดส่วนมูลค่าผลิต:นำเข้า ๓๐ : ๗๐) ปัจจุบันมีโรงงานผลิตยาในประเทศ ๑๖๔ แห่ง มีรูปแบบการผลิตโดยนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศถึง ๙๙% เพื่อนำมาผลิตยาสำเร็จรูป โดยยาที่ผลิตได้ประมาณ ๙๐% ถูกใช้บริโภคในประเทศ และอีก ๑๐% เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV 1 (๘๒%) ในขณะที่การส่งออกประเทศอื่น ๆ ยังมีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้า ซึ่งการผลิตยาในประเทศส่วนใหญ่เป็นยาเคมีกลุ่มยาสามัญ (Generic; G) อย่างไรก็ตาม ไทยมีศักยภาพในการผลิตยาสามัญใหม่ (New Generic; NG) แต่ยังไม่สามารถแข่งขันกับยานำเข้าที่เข้าสู่ตลาดได้เร็วกว่า โดยพบว่า ๗๘% ของยา NG ทั้งหมดมีเฉพาะยานำเข้า ยังไม่มียาผลิตในตลาด และมากกว่า ๕๐% ของยา NG ผลิต จะเข้าสู่ตลาดช้ากว่ายานำเข้ามากกว่า ๓ ปี อีกทั้งอุตสาหกรรมการผลิตยาของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตยาสามัญประเภทยาเคมีในระดับปลายน้ำ คือ การนำเข้าวัตถุดิบตัวยาสำคัญจากต่างประเทศมาผสมกับสารช่วย (excipients) เพื่อผลิตเป็นยาสำเร็จรูป และเกือบทั้งหมดเป็นการผลิตยาเคมีที่ไม่ใช่ยาใหม่ ในขณะที่ยาชีววัตถุที่ผลิตได้ในประเทศส่วนใหญ่เป็นเพียงการผลิตแบบแบ่งบรรจุ มีเพียงส่วนน้อยที่ประเทศสามารถผลิตได้ตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังในปี ๒๕๕๙ ที่พบว่าอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพต่ำที่สุดในอุตสาหกรรมสุขภาพทั้งหมด โดยบทบาทของประเทศไทยในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนปัจจุบันนั้นเป็นผู้ผลิตยาสำเร็จรูปเป็นหลัก ในส่วนที่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญ เช่น การวิจัยและพัฒนา การผลิตสารออกฤทธิ์สำคัญในตัวยา (Active Pharmaceutical Ingredient: API) มักไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๙๙ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินมาตรการระยะสั้นที่ส่งผลสัมฤทธิ์สูงต่อยุทธศาสตร์ (quick wins)เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยาของประเทศ โดยมีมาตรการสำคัญ คือ การผลักดันให้มียาสามัญตามบัญชียามุ่งเป้าทดแทนยาต้นแบบ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาของประชาชนและควบคุมค่าใช้จ่ายของภาครัฐ บัญชียามุ่งเป้า เป็นบัญชีรายการยาที่เป็นเป้าหมายในการสนับสนุนส่งเสริมร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาของประชาชน 1 CLMV หมายถึง ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม สร้างเศรษฐกิจและความมั่นคงด้านยาของประเทศ มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกรายการยาจากยาที่มีมูลค่าสูง ยาที่มีความมั่นคงด้านยาต่ำ ยาที่มีราคาแพงส่งผลกระทบกับงบประมาณของประเทศสูง ยาที่ผลิตเพื่อการส่งออก ยาที่วิจัยพัฒนาในประเทศ และมีมาตรการสนับสนุนส่งเสริมที่สำคัญ ได้แก่ เร่งรัดการขึ้นทะเบียนตำรับยา ลดค่าใช้จ่ายในการประเมินคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ผลิตในประเทศ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนายา จัดทำข้อมูลสถานะสิทธิบัตรยา ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการลงทุนผลิตยา ทั้งนี้ มาตรการจัดทำข้อมูลสถานะสิทธิบัตรยา เป็นมาตรการสำคัญที่ผู้ประกอบการด้านยาคาดหวังให้ภาครัฐอำนวยความสะดวก และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหาข้อมูลประกอบการวางแผนการวิจัยและพัฒนายา ที่ถูกต้อง ลดการเกิดการฟ้องร้องจากผู้ถือสิทธิและสามารถผลิตรายการยามุ่งเป้าได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงเห็นควรดำเนินโครงการอบรมการพัฒนาแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลและการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรยามุ่งเป้า
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาผู้ผลิตยาในประเทศให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการและเทคนิค รวมทั้งมีทักษะการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรยา สำหรับประกอบการวางแผนวิจัยและพัฒนา ให้สามารถผลิตยาออกสู่ตลาดได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม
คำสำคัญ