ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 18 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมผู้รับอนุญาตด้านยาและ ผู้จ้าหน่ายสารช่วยกลุ่มเสี่ยง เพื่อผลักดันมาตรการในการควบคุมสารปนเปื้อน Diethylene glycol และ Ethylene glycol ในผลิตภัณฑ์ยาน้า
ชื่อการประชุม โครงการอบรมผู้รับอนุญาตด้านยาและ ผู้จ้าหน่ายสารช่วยกลุ่มเสี่ยง เพื่อผลักดันมาตรการในการควบคุมสารปนเปื้อน Diethylene glycol และ Ethylene glycol ในผลิตภัณฑ์ยาน้า
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-019-04-2568
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 21 -22 เม.ย. 2568
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ผู้รับอนุญาตนาหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร และ ผู้จาหน่ายสารช่วยกลุ่มเสี่ยงที่ใช้ผลิตยานา จานวน ๑๕๐ คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากเหตุการณ์การเสียชีวิตของเด็กอายุต่ากว่า 5 ปี มากกว่า 300 ราย ในประเทศซูดาน อินเดีย และอินโดนีเซีย อันเนื่องมาจากการรับประทานผลิตภัณฑ์ยานาที่มีการปลอมปน Diethylene glycol (DEG) และ Ethylene glycol (EG) ที่มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับสารช่วยกลุ่มเสี่ยงทัง 5 รายการ (ได้แก่ Glycerin, Sorbitol solution, Propylene glycol, Polyethylene glycol และ Maltitol solution) แต่ราคาถูกกว่า ด้วยเป็นสารเคมีมีพิษที่ถูกใช้เป็นตัวทาละลายในอุตสาหกรรมทาความเย็นและไม่ควรถูกพบอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทาน เพราะแม้ได้รับเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อยก็เป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้ นาไปสู่การขอความร่วมมือจากหน่วยงานกากับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่ละประเทศขององค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ออกมาตรการตรวจสอบและป้องกันการปลอมปน DEG และ EG ในผลิตภัณฑ์นาสาหรับเด็ก สาหรับประเทศไทย สานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เฝ้าระวังการปลอมปนและการปนเปื้อน DEG และ EG ในผลิตภัณฑ์ยาสาหรับเด็กโดยการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาและสารช่วยกลุ่มเสี่ยงที่เป็นองค์ประกอบในสูตรตารับ ส่งตรวจวิเคราะห์ที่สานักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการเฝ้าระวังนี ทาให้ทราบว่า การจัดซื อสารช่วยของผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันนั นเป็นการซื อสารช่วยที่ใช้สาหรับผลิตอาหาร (Food grade) จากผู้รับอนุญาตด้านอาหารที่ส่วนใหญ่มิได้มีการควบคุมการปนเปื้อนของ DEG และ EG นอกจากนี พบเหตุการณ์การนาหนังสือรับรองรุ่นการผลิตของผู้รับอนุญาตด้านอาหารอื่นมาใช้ประกอบการขายสารช่วยของตนด้วย อย่างไรก็ตาม การปนเปื้อน DEG และ EG ในผลิตภัณฑ์ยานาสาหรับเด็ก ไม่ควรเกิดขึ นในประเทศไทย เนื่องจากตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยา (Good Manafacturing Practice; GMP) กาหนดให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันต้องตรวจสอบเอกลักษณ์ของวัตถุดิบทุกรายการก่อนนามาใช้ ทว่า ด้วยข้อจากัดด้านศักยภาพของห้องปฏิบัติการของผู้ผลิตแต่ละแห่งทาให้เกิดเหตุการณ์การปนเปื้อน DEG และ EG ในผลิตภัณฑ์ยานา 15 รายการ ขึ นอย่างน่าเสียดาย แม้ว่าจะยังไม่เกิดการเสียชีวิตขึ นก็ตาม ฉะนั น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์อย่างการเสียชีวิตของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ยานา จึงเห็นควรจัดให้มีการอบรมแก่ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ผู้รับอนุญาตนาหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร และ ผู้จาหน่ายสารช่วยกลุ่มเสี่ยง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการควบคุมสารปนเปื้อน DEG และ EG รวมถึงผลักดันมาตรการสาหรับการควบคุมการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ยานาต่อไป
วัตถุประสงค์
1 เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบการปนเปื้อนสาร DEG และ EG ในสารช่วยกลุ่มเสี่ยง ให้แก่ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ผู้รับอนุญาตนาหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามา ในราชอาณาจักร และผู้จาหน่ายสารช่วยกลุ่มเสี่ยง
2 เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสาร DEG และ EG ในผลิตภัณฑ์ยา โดยสร้าง ความตระหนักให้แก่ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ผู้รับอนุญาตนาหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร และผู้จาหน่ายสารช่วยกลุ่มเสี่ยง
3 เพื่อวางแผนเฝ้าระวังและผลักดันมาตราการในการควบคุมการปนเปื้อนสาร DEG และ EG ในผลิตภัณฑ์ยาที่จาหน่ายในประเทศ
คำสำคัญ
สารปนเปื้อน