Popup

ลงทะเบียนการประชุมวิชาการ
ชื่อกิจกรรม การให้คำปรึกษางานวิจัยด้านเภสัชกรรมสมุนไพร 4.การให้คำปรึกษาการจัดเตรียมบทความวิชาการ 
วันที่จัดกิจกรรม 15 ก.พ. 2567 - 01 ต.ค. 2567
สถานที่จัดกิจกรรม Online

Link ขอรับคำปรึกษา
https://docs.google.com/forms/d/1gaUVm-CodjdiazR9C3huAASzAhCfy2mxdInRMRgG2ls

หลักการและเหตุผลการดำเนินงาน:

              งานวิจัยด้านเภสัชกรรมสมุนไพรเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและ ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสุขภาพและรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้ ภูมิปัญญา ทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ การวางแผนดำเนินการวิจัยที่เป็นระบบ มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องตามหลัก วิชาการและเหมาะสมกับบริบทของสังคม ท าให้เกิดผลลัพธ์ข้อมูลวิชาการที่มีคุณภาพและมีความแม่นยำสูง สามารถเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจหรือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรได้ ซึ่งโครงการบริการวิชาการนี้มุ่งเน้นการให้คำปรึกษาแก่นักวิจัยที่มีความต้องการทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเภสัชกรรมสมุนไพร ขอบเขตการบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาหรือโจทย์งานวิจัย การวางแผนและ ออกแบบระเบียบวิธีวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยด้านเภสัชกรรมสมุนไพร การวิเคราะห์และสรุป ผลงานวิจัย รวมทั้งการจัดเตรียมบทความวิชาการ เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่หรือประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพได้

วัตถุประสงค์:

              โครงการบริการวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการวิจัยด้านเภสัชกรรมสมุนไพร โดยให้คำปรึกษาแก่นักวิจัยที่มีความต้องการทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเภสัชกรรมสมุนไพร

กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เข้าร่วมโครงการ:

              เภสัชกรและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเภสัชกรรมสมุนไพร

ระยะเวลาดำเนินโครงการ:  ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567

 

ลักษณะการดำเนินงาน

8.1 ช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับบริการ ผู้รับบริการสามารถติดต่อเพื่อขอรับบริการและกรอกข้อมูล การรับบริการเบื้องต้นผ่านระบบ QR code หรือ google form ที่มีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ โดยแบ่งรูปแบบการให้คำปรึกษาเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

8.2 กระบวนการให้คำปรึกษางานวิจัย คณะกรรมการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการจัดทำทำเนียบผู้เชี่ยวชาญการวิจัยด้านเภสัชกรรมสมุนไพร เพื่อเป็นฐานข้อมูลการดำเนินโครงการและติดต่อประสานงานระหว่าง ผู้ขอรับคำปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการคำปรึกษา โดยแบ่งความเชี่ยวชาญการให้คำปรึกษาออกเป็น 4 กลุ่มคือ
1) ระบบการให้บริการด้านสุขภาพ การศึกษาทางคลินิก
2) การกำหนดนโยบายด้านสมุนไพร การประยุกต์ใช้สมุนไพรในชุมชน
3) การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
4) การบริหารและจัดการความเสี่ยง

8.3 ระบบการให้คำปรึกษา ผู้รับบริการสามารถติดต่อประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับบริการใน ช่องทางที่หลากหลาย ได้แก่ การปรึกษาแบบเข้าถึงตัวบุคคล การปรึกษาแบบออนไลน์และการปรึกษาทางอีเมลล์ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญสรุปผลการให้คำปรึกษาผ่านแบบบันทึกผล 

8.4 การติดตามและสรุปผลการให้คำปรึกษา คณะกรรมการดำเนินงานโครงการกำกับติดตามและ สรุปผลการให้คำปรึกษาตามช่วงเวลาที่กำหนด รวมทั้งรวบรวมข้อเสนอแนะหรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการ

 

อัตราค่าบริการ

 4.การให้คำปรึกษาการจัดเตรียมบทความวิชาการ 

4.1 เผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI 3,000 บาท

4.2 เผยแพร่ในฐานข้อมูลนานาชาติ 5,000 บาท

ปิดลงทะเบียน