1932 1720 1212 1075 1193 1899 1683 1392 1224 1944 1673 1560 1164 1437 1249 1616 1757 1423 1603 1918 1947 1096 1921 1840 1990 1439 1877 1975 1056 1322 1623 1001 1760 1424 1178 1411 1568 1287 1411 1696 1948 1229 1979 1324 1794 1518 1352 1191 1117 1877 1464 1368 1519 1993 1746 1208 1973 1808 1433 1116 1080 1157 1713 1450 2000 1265 1325 1198 1379 1013 1401 1016 1061 1846 1419 1788 1776 1086 1207 1840 1568 1264 1545 1976 1138 1100 1495 1280 1453 1525 1888 1477 1010 1983 1480 1140 1919 1786 1303 pharmacycouncil.org
มุมดาวน์โหลด
ใหม่* งานทะเบียนและใบอนุญาต
ใหม่* Logo 30 ปี สภาเภสัชกรรม
การประชุมเชิงปฏิบัติการ สำนักงานรับรองร้านยาคุณภาพ
งานการศึกษา
แบบฟอร์มอื่น
   

สภาเภสัชกรรม
ก่อตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๗ เป็นปีที่ ๔๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

"สภาเภสัชกรรม" คือ องค์กรที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗

มีการบริหารงานโดยคณะกรรมการสภาเภสัชกรรม มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ประกอบด้วย
(๑) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัย  ให้จัดตั้งขึ้นตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอจำนวนห้าคน
(๒) กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขสามคน จากกระทรวงกลาโหมหนึ่งคน และจากกระทรวงมหาดไทยหนึ่งคน และ
(๓) กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการ ใน (๑) และ (๒) รวมกัน

ตราของสภาเภสัชกรรม

 ตราของสภาเภสัชกรรม

ตราของสภาเภสัชกรรมมีลักษณะเป็นรูปงูพันถ้วย ซ้อนเฉลงอยู่บนโล่รูปกลมรี เบื้องต้นมีอักษรไทยและตัวเลข "พ.ศ.๒๕๓๗" เบื้องล่างมีอักษรโรมันและตัวเลข "A.D. 1994" ที่ขอบด้านบนของโล่มีข้อความว่า "สภาเภสัชกรรม" และที่ขอบด้านล่างมีข้อความว่า "The Pharmacy Council"

สภาเภสัชกรรมมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
2) วินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๔๒ วรรคสาม
3) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก
4) รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรม
5) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (4)
6) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพเภสัชกรรม
7) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาเภสัชกรรม

สภาเภสัชกรรมมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1) ส่งเสริมการศึกษาการวิจัยและการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
2) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
3) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
4) ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม
5) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการเภสัชกรรมและการสาธารณสุข
6) ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการเภสัชกรรมและการสาธารณสุข
7) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย