โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ
1. ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ: -คณะอนุกรรมการนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ สภาเภสัชกรรม -สาขาวิชาเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ที่มาและความสำคัญ ความผิดแผกทางพันธุกรรมของมนุษย์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญที่ส่งผลให้มีความแตกต่างในการตอบสนองต่อยาในแต่ละบุคคล ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น ความผิดแผกทางพันธุกรรมของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงยา (drug metabolism enzyme) ความผิดแผกทางพันธุกรรมของยีนเอชแอลเอ (HLA gene) ความผิดแผกทางพันธุกรรมของตัวรับ-ขนส่งยา (receptor and drug transporter gene) มีผลทำให้แต่ละบุคคลมีการตอบสนองต่อยาได้แตกต่างกัน โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกันนั้นเรียกว่า เภสัชพันธุศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ปัจจุบันในประเทศไทยมีการนำเอาการทดสอบทางเภสัชพันธุศาสตร์มาใช้ในเวชปฏิบัติแล้ว โดยบางรายการทดสอบบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และบางการทดสอบสามารถเบิกได้ตามหลักเกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง ดังนั้นเภสัชกรในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านยาในทุกมิติและมีบทบาทหน้าที่ในการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาแล้วเกิดประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เภสัชกรจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์คลินิก โดยพาะเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ จึงควรเป็นผู้มีความรู้และสามารถส่งเสริมให้มีการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยาอย่างสมเหตุผล ให้คำปรึกษาและร่วมให้ความเห็นแก่ผู้ป่วย ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมทั้งก่อนและหลังการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำเพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด รวมถึงสามารถติดตามปัญหาจากการใช้ยาภายหลังการตรวจได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังสามารถจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำร่วมกับบุคลากรวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้ความรู้และการจัดอบรมแก่ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำได้เป็นอย่างดีในการนี้ เพื่อเป็นการสร้างเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำในเวชปฏิบัติ ด้วยคณะอนุกรรมการนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ สภาเภสัชกรรม ร่วมกับสาขาวิชาเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ (16 หน่วยกิต) โดยใช้เวลาในการจัดฝึกอบรม 4 เดือน ประกอบด้วยการเรียนในภาคทฤษฎี 2 หน่วยกิต ในวันที่ 16-19 กันยายน ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพ และการฝึกปฏิบัติ 14 หน่วยกิต ณ สถาบันหลักและสถาบันสมทบ รวมเป็นระยะเวลาฝึกอบรม 4 เดือน โดยได้รับทุนสนับสนุนการจัดฝึกอบรมบางส่วนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
4. วัตถุประสงค์ของโครงการ 4.1 เพื่อจัดฝึกอบรมให้เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ สามารถส่งเสริมให้มีการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำอย่างสมเหตุสมผล ตลอดจนสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย และร่วมให้ความเห็นกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ก่อนและหลังการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ 4.2 เพื่อสร้างอาจารย์ผู้สอนและรับผิดชอบหลักในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ ในคณะเภสัชศาสตร์ ที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรองปริญญา
5. คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม ผู้ที่จะเข้าอบรมควรมีคุณสมบัติดังนี้ 5.1 เป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 5.2 เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ หรือมีความ สนใจในงานบริบาลทางเภสัชกรรมที่ต้องใช้เภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำร่วมด้วย หรือ 5.3 เป็นเภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร (1) เภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั่วไป โดยสภาเภสัชกรรม หรือ (2) การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ที่ได้รับการรับรองจากภาคีสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ หรือ (3) หลักสูตรทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำอื่นๆ โดยความเห็นชอบของสภาเภสัชกรรม ให้สามารถเทียบเคียงหน่วยกิตได้เท่ากับการฝึกอบรมภาคทฤษฎี 1 หน่วยกิต (หน่วยกิตที่ 1 หลักการเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แบบแม่นยำ)
6. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 6.1 เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ ในคณะเภสัชศาสตร์ ที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรองปริญญา เข้ารับการฝึกอบรมครบถ้วนสมบูรณ์ตลอดหลักสูตร 6.2 เภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรมนำความรู้และทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ในการสอน หรือการบริการทางเภสัชพันธุศาสตร์คลินิกร่วมกับการบริบาลทางเภสัชกรรม
7. การประเมินผลระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน เภสัชกรที่เข้าร่วมการอบรมมีการเก็บข้อมูล การให้คำปรึกษา การจัดทำรายงาน การให้ความเห็น และคำแนะนำทางเภสัชพันธุศาสตร์คลินิกร่วมกับการบริบาลเภสัชกรรม 7.1 การนำเสนอกรณีศึกษา และการวิพากษ์วรรณกรรมปฐมภูมิ 7.2 การสอบข้อเขียน 7.3 โครงร่างงานบริบาลทางเภสัชกรรมด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำในสถานพยาบาล 7.4 การจัดทำแฟ้มปฏิบัติงานส่วนตัว (portfolio)ได้จัดทำผลงานการปฏิบัติงานส่วนตัว จำนวน ๓ ชิ้น ได้แก่ (1) โครงการและแผนการเปิดหรือการดำเนินงานให้บริการและงานบริบาลทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำในสถานพยาบาลในพื้นที่ โดยแสดงแนวทางการปฏิบัติงานทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างเหมาะสมจำนวน ๑ โครงการ (2) กรณีศึกษาผู้ป่วยที่มีการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ในสถานพยาบาล โดยแสดงบทบาทของเภสัชกรในการให้บริการและงานบริบาลทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ เช่น •มีการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา และร่วมให้ความเห็นกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ •ติดตามปัญหาจากการใช้ยาหลังจากการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ •จัดทำรายงานผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ (3) รายงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมและให้ความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนและผู้ป่วย หรือบุคลากรทางการแพทย์ นำไปสู่การตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์อย่างสมเหตุสมผล 8. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ประกอบด้วย 8.1 อาจารย์ผู้สอนและรับผิดชอบหลักในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ ในคณะเภสัชศาสตร์ ที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรองปริญญา จำนวน 20 ท่าน 8.2 เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 30 ท่าน
9. ขั้นตอนการดำเนินงาน 9.1 จัดทำหนังสือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของสถานพยาบาล เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป องค์กรวิชาชีพของเภสัชกรชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม 9.2 ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงานและอาจารย์พี่เลี้ยง 9.3 การฝึกอบรม ซึ่งการฝึกอบรม แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักคือ 1. การเรียนภาคทฤษฎีและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลา 4 วัน 16-19 กันยายน 2567 ณ โรงแรมอีสติน พญาไท กรุงเทพฯ 2. การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ระยะเวลา 4 เดือน โดยการฝึกอบรมภาคปฏิบัติจะจัดเป็น3 วงรอบ วงรอบละ 4 เดือน ตลอดทั้งปี เพื่อให้เภสัชกรสามารถเลือกเข้ารับการอบรมได้ตามที่สะดวก คือ วงรอบที่ 1 ตค 2567 ถึง มค 2568 วงรอบที่ 2 กพ 2568 ถึง พค 2568 วงรอบที่ 3 มิย 2568 ถึง กย 2568 สำหรับรูปแบบการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ มี 5 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 ฝึกปฏิบัติงานการให้บริการเภสัชพันธุศาสตร์ฯ ที่โรงพยาบาลต้นสังกัด หรือโรงพยาบาลแหล่งฝึก และดำเนินการจัดทำกรณีศึกษาผู้ป่วยจำนวน 12 ราย โดยแสดงบทบาทของเภสัชกรในการให้บริการและงานบริบาลทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ มีการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา และร่วมให้ความเห็นกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ ติดตามปัญหาจากการใช้ยาหลังจากการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ(ที่มีการให้คำปรึกษาก่อนและหลัง และขอ consent จากผู้ป่วย) และนำเสนอผ่านระบบออนไลน์ ณ ห้องเรียนออนไลน์ สภาเภสัชกรรม โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเข้าร่วมการฝึกนำเสนอและร่วมอภิปรายทุกครั้ง กิจกรรมที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม นำเสนอ และการวิพากษ์วรรณกรรมปฐมภูมิ (journal club) 2 ครั้ง กิจกรรมที่ 3 เภสัชกรผู้เข้ารับการอบรมจัดทำ เอกสารและเครื่องมือในการเผยแพร่และให้ความรู้ด้านเภสัชพันธุศาสตร์ มีการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ภาคประชาชน/บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 1 ครั้ง กิจกรรมที่ 4 ศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 1 สัปดาห์ หรือที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 1 สัปดาห์ในช่วงวงรอบที่เลือกฝึกปฏิบัติ กิจกรรมที่ 5 การนิเทศน์และประเมินทักษะผู้เข้ารับการอบรม โดยผู้ประเมินจากคณะอนุกรรมการฯ 9.4 การประชุมนำเสนอผลงานการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการและแผนการเปิดหรือการดำเนินงานให้บริการและงานบริบาลทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำในสถานพยาบาลในพื้นที่ โดยแสดงแนวทางการปฏิบัติงานทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม และนำเสนอผลลัพธฺของการดำเนินการในช่วงเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับการวิพากษ์และข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร และเพื่อนร่วมการฝึกอบรม เพื่อนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดความสมบูรณ์ และพื้นที่อื่นสามารถนำไปปรับใช้ เกิดประโยชน์สูงสุด
10. ระยะเวลาดำเนินการ กันยายน 2567 – กันยายน 2568
11. สถานที่ดำเนินการ :
สภาเภสัชกรรม โรงแรมอีสติน (พญาไท กรุงเทพ) โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ สถาบันแหล่งฝึกอบรม
12. งบประมาณ จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรม (บพค.) และผู้ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม
13. การติดตามและการประเมินผลโครงการ 13.1 ผู้รับการฝึกอบรมจะได้รับการประเมินผลทั้งในส่วนของความรู้โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินผล อย่างน้อยร้อยละ 80 และการประเมินทักษะ อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ และต้องส่งมอบงานที่มอบหมายครบทุกชิ้นงาน โดยมีการกำกับติดตามจากอาจารย์พี่เลี้ยง ในสัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1: 10 13.2 รายงานผลต่อคณะอนุกรรมการนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำตามวาระการประชุม 13.3 รายงานผลการจัดฝึกอบรมต่อคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเมื่อเสร็จสิ้น
14. การสำเร็จการศึกษา 14.1 ผู้เข้าอบรมต้องมีระยะเวลาเข้าเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของระยะเวลาเรียนภาคทฤษฎี และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาเรียนในภาคปฏิบัติ 14.2 ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องผ่านการประเมินดังต่อไปนี้ •ด้านเจตคติและความรับผิดชอบ ประเมินโดยการสังเกตระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน และแฟ้มประวัติส่วนตัว เกณฑ์ผ่านไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 •ด้านความรู้ ประเมินโดยการจัดสอบด้วยข้อสอบแบบอัตนัยหรือปรนัย เพื่อประเมินความรู้เชิงลึกในส่วนของความรู้ด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แบบแม่นยำ เกณฑ์ผ่านร้อยละ 80 •ทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินที่สิ้นสุดการปฏิบัติงาน โดยอาจารย์ประจำแหล่งฝึก เกณฑ์ผ่านร้อยละ 80 •โดยผู้ผ่านการอบรมตามหลักสูตร จะได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แบบแม่นยำ Certificate in Pharmacy (Pharmacogenomics and Precision Medicine)
15. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 15.1 เภสัชกรผู้ผ่านการอบรถสามารถสร้างและส่งเสริมให้มีการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำอย่างสมเหตุสมผล 15.2 เภสัชกรผู้ผ่านการอบรมสามารถให้คำปรึกษาและร่วมให้ความเห็นกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ก่อนและหลังการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ 15.3 เภสัชกรผู้ผ่านการอบรมสามารถให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำแก่ผู้ป่วยรวมทั้งติดตามปัญหาจากการใช้ยาหลังจากการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ 15.4 เภสัชกรผู้ผ่านการอบรมสามารถจัดทำรายงานผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำเพื่อการนำไปใช้ทางคลินิกตามแนวทางเภสัชกรรมแม่นยำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 15.5 เภสัชกรผู้ผ่านการอบรมสามารถจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม 15.6 เภสัชกรผู้ผ่านการอบรถสามารถให้ความรู้ทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำแก่ผู้ป่วยและประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจ 15.7 มีการเปิดหน่วยบริการทางเภสัชพันธุศาสตร์และสามารภนำไปใช้ในการบริบาลทางเภสัชกรรมเพิ่มขึ้น
คลิก>>>>รายละเอียดโครงการฝึกอบรม |