1775 1316 1037 1701 1554 1118 1393 1636 1587 1357 1313 1637 1315 1503 1913 1371 1968 1975 1386 1071 1902 1578 1352 1515 1622 1193 1133 1588 1878 1810 1492 1417 1048 1588 1480 1067 1423 1461 1136 1619 1474 1562 1992 1093 1833 1583 1804 1436 1748 1579 1665 1868 1020 1919 1905 1065 1735 1584 1623 1642 1891 1998 1056 1435 1552 1136 1278 1872 1023 1438 1429 1061 1547 1937 1690 1992 1097 1788 1584 1196 1860 1064 1488 1952 1200 1342 1193 1975 1375 1174 1619 1259 1839 1427 1015 1496 1021 1593 1575 pharmacycouncil.org
   
แนะนำวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย

  วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย 

             เภสัชกรรม ได้ออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551  โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551 วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย มีชื่อย่อว่า ว.ท. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า TheCollege ofPharmacotherapy ofThailand (C.Ph.T.) มีหน้าที่หลักในการจัดฝึกอบรมและจัดสอบผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาเภสัชบำบัด นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานการประกอบวิชาชีพด้านเภสัชบำบัด ศึกษาวิจัย และเผยแพร่ความรู้ด้านเภสัชบำบัด

วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ มีสมาชิก 3 ประเภท ได้แก่

                  1. สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

                      1.1.เป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรม และเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือ วุฒิบัตรเป็นผู้มีความรู้
                           ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด หรือวุฒิบัตรที่
                           สภาเภสัชกรรมรับรอง

                      1.2.เป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรม และเป็นสมาชิกก่อตั้งวิทยาลัยตามรายชื่อที่คณะกรรมการ
                           สภาเภสัชกรรมรับรอง

                  2. สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ ผู้มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรม และเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่
                      ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของวิทยาลัย

                  3. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ผู้มีคุณวุฒิที่วิทยาลัยเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์

การดำเนินงานในปัจจุบัน

               คณะผู้บริหารวิทยาลัยบำบัดแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 11 ท่าน พร้อมคณะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จำนวน 6 ท่าน รวมทั้งสิ้น 17 ท่าน ดำเนินการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด โดยมีสถาบันหลักที่ได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรม
ในการจัดฝึกอบรมรวม 6 แห่ง ได้แก่

                  1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                  2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                  3. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

                  4. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                  5. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                  6. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 หลักสูตรการฝึกอบรม

                  1. วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด

                      1.1. ระยะเวลาในการฝึกอบรม  4  ปี

                      1.2. วิธีการฝึกอบรมประกอบด้วย

                            1.2.1. ภาคทฤษฏี  จำนวน 10 หน่วยกิต

                            1.2.2. ภาคปฏิบัติ ปฏิบัติการและฝึกปฏิบัติงานในสาขาเภสัชบำบัด ในสถาบันฝึกอบรม
                                     ของสภาเภสัชกรรม  จำนวน  91  หน่วยกิต

                            1.2.3. การทำวิจัย   จำนวน 32 หน่วยกิต

                  2. ประกาศนียบัตร

                            2.1.  ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในปีที่ 1 จะได้รับประกาศนียบัตร
                                   General residency in Pharmacotherapy

                            2.2.  ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในปีที่ 3 จะได้รับประกาศนียบัตร
                                   Specialized residency in ________  pharmacotherapy

                            2.3.  ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในปีที่ 4 จะได้รับประกาศนียบัตร
                                   Specialized fellowship in ________ pharmacotherapy

                  3. ประกาศนียบัตรการฝึกอบรมระยะสั้น 3 เดือน

                            3.1.  หลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง

                            3.2.  หลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก

                            3.3.  หลักสูตรการตรวจติดตามระดับยาในเลือด

 

                  ผู้เข้าฝึกอบรมที่ไม่สามารถเข้าฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าฝึกอบรมในชั้นปีที่ 1 เมื่อผ่านการประเมินผลจะได้รับประกาศนียบัตร General residency in Pharmacotherapy  และเมื่อพร้อมสามารถกลับเข้ามาฝึกอบรมต่อในชั้นปีที่ 2 และ 3 ได้ โดยจะได้รับประกาศนียบัตร Specialized residency in ……………….. pharmacotherapy ในสาขาที่ฝึกอบรม  หากเข้าฝึกอบรมต่อในชั้นปีที่ 4 จะได้รับประกาศนียบัตร Specialized fellowship in ………….. pharmacotherapy ในสาขาที่ฝึกอบรมและทำวิจัย ดังนั้นผู้ที่เข้าฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เมื่อผ่านการประเมินผลทั้งหมดจะได้รับวุฒิบัตรฯ สาขาเภสัชบำบัด และ ประกาศนียบัตรดังกล่าว

                  วิทยาลัยเภสัชบำบัดกำหนดการรับสมัครผู้เข้าฝึกอบรมในเดือน มีนาคมของทุกปี สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Website สภาเภสัชกรรม www.pharmacycouncil.org

 

หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด

                  วิทยาลัยเภสัชบำบัดมีหน้าที่ในการจัดสอบประเมินความรู้ความสามารถด้านเภสัชบำบัดให้แก่เภสัชกรที่ทำหน้าที่บริบาลทางเภสัชกรรม ให้ได้รับหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาเภสัชบำบัด โดยผู้ขอรับการประเมินต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 

                       1. ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรม

                       2. ประกอบวิชาชีพในสาขาเภสัชบำบัดหรือที่เกี่ยวข้องเกื้อกูล มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี

                       3. มีคุณสมบัติเทียบเท่าตามที่สภาเภสัชกรรมรับรอง

                  ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวสามารถส่งใบสมัครมาที่วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ ได้โดยจะมีประกาศรับสมัครสอบเพื่อประเมินความรู้ปีละหนึ่งครั้งในเดือน มีนาคม

 

การจัดการศึกษาต่อเนื่องแก่เภสัชกร

                  วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ ได้ดำเนินการจัดประชุมทางวิชาการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดปีละครั้ง มีเนื้อหาทางด้านเภสัชบำบัดเพื่อให้เภสัชกรที่ทำหน้าที่ในการบริบาลทางเภสัชกรรมมีความรู้ที่ทันสมัย โดยใช้ชื่อการประชุมว่า“เภสัชบำบัดร่วมสมัย (Contemporary Review in Pharmacotherapy)” วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ จัดการประชุมนี้มาแล้วรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง มีเภสัชกรเข้าร่วมการประชุมกว่า 2,000 คน